ร่างสัญญาหรือนิติกรรม

ที่เราต้องจำให้ได้ก็คือ pattern ของแต่ละนิติกรรมเช่นสิ่งที่ต้องมีในทุกๆสัญญาก็คือทำที่... วันที่.... ระหว่าง... คู่สัญญาได้ตกลงกันดังต่อไปนี้..(โจทย์จะให้มาว่าคู่สัญญาต้องการอะไรบ้าง)..สัญญานี้ได้ทำขึ้นเป็น ฉบับ มีข้อความต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อตกลงในสัญญา แล้วได้ลงนามไว้ต่อหน้าพยานแล้ว หรือพินัยกรรม ก็ต้องดูว่าเป็นพินัยกรรมแบบใด เพราะแต่ละแบบ keywords ก็จะแตกต่างกัน เช่น แบบเขียนเองทั้งฉบับ เจ้ามรดกต้องเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ ดังนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีพยานก็ได้แต่ถ้าเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา จำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อย คนนะครับ

การเขียนคำร้อง/คำขอ/คำแถลง

หลักเกณฑ์สำคัญ

1.  คดีอยู่ระหว่างอะไร เช่น คดีนี้อยู่ระหว่างส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย 

2.  เราต้องการขออะไร โดยปรับให้เข้ากับเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดในเรื่องนั้นๆ คือ ข้ออ้างและเหตุแห่งข้ออ้าง

3. ต้องการให้ศาลสั่งอย่างไร “ขอให้ศาลมีคำสั่ง...” คือเราต้องการอะไร 

4.  ลงท้ายว่า ขอศาลได้โปรดอนุญาต.... ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 

หลักเกณฑ์ในการฟ้องแพ่ง

                         บรรยายตน-บ่นสัมพันธ์-ฉันถูกแย้ง-แจงเสียหาย-ได้ทวงถาม-ความตอนปลาย

            1.  บรรยายตน โดยเฉพาะในกรณีที่โจทก์/จำเลย เป็นนิติบุคล ต้องบรรยายสถานะด้วยนะครับ แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องบรรยายครับหรือถ้าเป็นบุคคลธรรมดาแต่มีการมอบอำนาจก็ให้บรรยายเฉพาะเรื่องการมอบอำนาจครับ เพราะ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ของโจทก์ และจำเลยจะมีบอกไว้ในแบบฟอร์มศาลตอนต้นอยุ่แล้วครับ ไม่ต้องบรรยายซ้ำอี
            2.  บ่นสัมพันธ์ โจทก์และจำเลยมีความเกี่ยวของ/ มีนิติสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร เป็นนิติกรรม หรือ นิติเหตุ
            3.  ฉันถูกแย้ง การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร เพราะการที่บุคคลจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้บุคคลนั้นจะต้องถูกโต้แย้งสิทธิตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 55 ปวิพ.
            4.  แจงเสียหาย ก็คือบอกว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรจากการกระทำของจำเลย
            5. ได้ทวงถาม ก็คือได้มีการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคำบอกกล่าวแล้วจำเลยยังคงเพิกเฉย อันนี้ก็ต้องระบุไปด้วยนะครับ เพื่อให้ศาลเห็นว่าเราทวงถามก็แล้วยังไม่ชำระ เราไม่มีทางอื่นจริงๆ จึงต้องนำมาฟ้องคดี ในบางเรื่องเช่นฟ้องบังคับจำนอง ถ้าไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก็จะไม่มีสิทธิฟ้องคดีเลยนะครั
            6. ความตอนปลาย เป็น pattern ว่าโจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงต้องนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง บังคับจำเลยต่อไป ““ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

การบรรยายสถานะคู่ความ(กรณีนิติบุคคลหรือนิติบุคคลโดยแท้)

ๆขห้างหุ้นส่วนสามัญ

ข้อ 1.) โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญสามสหาย ประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสัญญาหุ้นส่วน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

ข้อ 1.) จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญสามสหาย ประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างมี จำเลยที่ 2 และ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วน รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสัญญาหุ้นส่วนเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคลคล

ข้อ 1.) โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมี นาย หนึ่ง มกรา เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ได้ ประกอบกิจการ ค้าขายผลไม้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

ข้อ1.) จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้  ประกอบกิจการค้าขายผลไม้  มีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนรายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ข้อ1.) โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมีหนึ่ง มกรา เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ กระทำการแทนโจทก์ได้ ประกอบกิจการ ค้าขายผลไม้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

ข้อ1.) จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ ประกอบกิจการ ค้าขายผลไม้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

บริษัทจำกัด

ข้อ1.) โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีนาย หนึ่ง มกราและนาย สอง มกรา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ กระทำการแทนโจทก์ได้ ประกอบกิจการ ค้าขายผลไม้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

 ข้อ1.) จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมีนาย หนึ่ง มกราและนาย สอง มกรา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 กระทำการแทนำเลยที่ 1ได้ ประกอบกิจการ ค้าขายผลไม้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1