หลักเกณฑ์ในการฟ้องแพ่ง
บรรยายตน-บ่นสัมพันธ์-ฉันถูกแย้ง-แจงเสียหาย-ได้ทวงถาม-ความตอนปลาย
1. บรรยายตน โดยเฉพาะในกรณีที่โจทก์/จำเลย เป็นนิติบุคล ต้องบรรยายสถานะด้วยนะครับ แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องบรรยายครับหรือถ้าเป็นบุคคลธรรมดาแต่มีการมอบอำนาจก็ให้บรรยายเฉพาะเรื่องการมอบอำนาจครับ เพราะ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ของโจทก์ และจำเลยจะมีบอกไว้ในแบบฟอร์มศาลตอนต้นอยุ่แล้วครับ ไม่ต้องบรรยายซ้ำอี
2. บ่นสัมพันธ์ โจทก์และจำเลยมีความเกี่ยวของ/ มีนิติสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร เป็นนิติกรรม หรือ นิติเหตุ
3. ฉันถูกแย้ง การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร เพราะการที่บุคคลจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้บุคคลนั้นจะต้องถูกโต้แย้งสิทธิตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 55 ปวิพ.
4. แจงเสียหาย ก็คือบอกว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรจากการกระทำของจำเลย
5. ได้ทวงถาม ก็คือได้มีการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคำบอกกล่าวแล้วจำเลยยังคงเพิกเฉย อันนี้ก็ต้องระบุไปด้วยนะครับ เพื่อให้ศาลเห็นว่าเราทวงถามก็แล้วยังไม่ชำระ เราไม่มีทางอื่นจริงๆ จึงต้องนำมาฟ้องคดี ในบางเรื่องเช่นฟ้องบังคับจำนอง ถ้าไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก็จะไม่มีสิทธิฟ้องคดีเลยนะครั
6. ความตอนปลาย เป็น pattern ว่า“โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงต้องนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง บังคับจำเลยต่อไป ““ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด”